ห้องสมุด

การกลับเข้ามาของกล้าไม้ท้องถิ่นในป่าที่ถูกฟื้นฟู

Date
Apr 2020
Authors
Yingluck Ratanapongsai
Publisher
Universitas Hasanuddin, Indonesia
Serial Number
233
Suggested Citation
Ratanaponsai, Y., 2020. Seedling recruitment of native tree species in active restoration forest, Forest and Society, Vol. 4(1): 243-255.
Seedling Recruitment of Native Tree Species in Active Restoration Forest

บทนำ: ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการตัดไม้ทำลายป่าเป็นที่น่ากังวลมากขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะในพื้นที่เทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย ถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตกรรมเกือบทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การฟื้นฟูป่าจึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำให้ป่ากลับมาเพิ่มขึ้น พรรณไม้โครงสร้างถูกนำมาปรับใช้เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในพื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิมทางตอนเหนือของปะเทศไทย โดยนำพรรณไม้ท้องถิ่นจำนวน 20-30 ชนิด ที่มีคุณลักษณะเด่นในระบบนิเวศป่าเพื่อเป็นการเอื้อต่อการฟื้นตัวของป่าอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดบางประการในระหว่างทำการทดลองด้วยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง จากการศึกษาเปรียบเทียบการเลือกกล้าไม้ท้องถิ่นจากแปลงฟื้นฟูในชุมชนเพื่อวิเคราะห์หาจำนวนเมล็ดที่เหมาะสมและชนิดพันธุ์ที่มีโอกาสฟื้นตัวในแปลง โดยวิเคราะห์จากผลกระทบของสัตว์กระจายเมล็ดและขนาดของเมล็ดในแปลงฟื้นฟูอายุ 6 10 และ 14 ปี ซึ่งประมาณครึ่งของพรรณไม้ท้องถิ่นหายไปจากแหล่งกล้าไม้ทั้ง 3 แปลง ความพร้อมของเมล็ดเป็นหนึ่งในข้อจำกัดที่สำคัญในการกลับมาของพรรณไม้  โดยที่เมล็ดขนาดใหญ่มีความน่าจะเป็นในการกลับเข้ามาน้อยกว่าเมล็ดขนาดเล็ก (จากการทดสอบที่ P=0.0249 Tukey) ในขณะที่เมล็ดที่ถูกนำเข้ามาโดยสัตว์กระจายเมล็ดไม่มีผลกระทบ (จากการทดสอบที่ P=0.42 Chi-square) อัตราการกลับเข้ามาของเมล็ดใกล้เคียงกันทั้ง 3 แปลง ซึ่งการศึกษายืนยันได้ว่าวิธีพรรณไม้โครงสร้างถูกจำกัดด้วยความพร้อมของแหล่งเมล็ดในแปลงฟื้นฟู โดยมีข้อแนะนำว่าพรรณไม้ที่หายากและมีลักษณะเด่นในระบบนิเวศป่านั้นและมีเมล็ดขนาดใหญ่ควรนำมาปะปนกับพรรณไม้โครงสร้างเพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์และส่งผลให้การฟื้นฟูมีประสิทธภาพมากขึ้น

Related Advice

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...