ห้องสมุด

อัตราการฟื้นตัวจากไฟป่าของพรรณไม้โครงสร้างบางชนิด

Date
2006
Authors
Sumamart Chaiwong
Publisher
Forest Restoration Research Unit, CMU
Serial Number
231
Suggested Citation
Chaiwong, S., 2006. Recovery Rates of Some Framework Tree Species After Fire. BSc. Thesis, Chiang Mai University 
Prunus coppicing after fire

บทนำ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบหาชนิดของพรรณไม้โครงสร้างที่มีความสามารถในการฟื้นตัวจากไฟป่าโดยเก็บข้อมูลจากแปลงฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ณ หมู่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอายุ 3 ปี และได้รับผลกระทบจากไฟป่าในเดือนเมษายน 2548 เป็นพื้นที่ 40 X 40 ตารางเมตร จากการสำรวจเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของพรรณไม้โครงสร้างที่อยู่ในแปลงสำรวจ พบพรรณไม้โครงสร้างที่รอดชีวิตทั้งหมด 22 ชนิด ซึ่งเป็นร้อยละ 79 ของพรรณไม้โครงสร้างทั้งหมดในแปลงก่อนการเกิดไฟป่า ทั้งนี้ในแต่ละชนิดมีอัตราการรอดชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอยู่ในช่วงร้อยละ 36 ถึง 100 ตัวอย่างพรรณไม้โครงสร้างที่รอดชีวิต เช่น มะกัก Spondias pinnata (L. f.) Kurz (100%) and Gmelina arborea Roxb. (100%) เป็นต้น อัตราการฟื้นตัวของพรรณไม้โครงสร้างบางชนิดที่รอดชีวิตนั้นได้จากการเก็บข้อมูล จำนวน ความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง และความกว้างของทรงพุ่ม ของยอดอ่อนที่แตกออกมาใหม่จากลำต้นเดิมหลังจากได้รับผลกระทบจากไฟป่าซึ่งมี 3 ตำแหน่ง คือ กิ่งใหม่บริเวณโคนต้น กิ่งใหม่บริเวณลำต้น และกิ่งใหม่บริเวณกิ่งของต้นเดิม โดยเก็บข้อมูลเดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2548 จนถึง เดือน มกราคม 2549 จากผลการสำรวจพบว่าพรรณไม้โครงสร้างแต่ละชนิดมีความสามารถในการฟื้นตัวจากไฟป่าที่แตกต่างกัน (P = 0.0001, ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%) และพรรณไม้ที่มีแนวโน้มในการฟื้นตัวจากไฟป่าได้รววเร็วที่สุด ได้แก่ นางพญาเสื่อโคร่ง (Prunus cerasoides D.Don) ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 90 สามารถเพิ่มความยาวกิ่งใหม่ 341 ซม/ปี และมีความกว้างทรงพุ่มเท่ากับ 206 ซม.

Related Advice

ไฟป่า

ในช่วงฤดูแล้ง ไฟป่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโครงการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างมาก เรียนรู้วิธีการป้องกันและการจัดการเมื่อไฟป่าลุกลามเข้าแปลงฟื้นฟู

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า