ห้องสมุด

ความเข้าใจของนักท่องเที่ยวต่อสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
1992
Authors
Elliott, S.
Publisher
J. Wildlife in Thailand (Kasetsart Uni.)
Serial Number
179
Suggested Citation
Elliott, S., 1992. Tourists' perceptions of wildlife and national parks in northern Thailand. J. Wildlife in Thailand 3(1): 43-50.

บทคัดย่อ: การใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว 967 คน (ชาวต่างชาติ 490 คน ชาวไทย 477 คน) ถึงทัศนคติต่อสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติในภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างจัดอันดับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและคุ้มครองพื้นที่ต้นน้ำให้เป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งของอุทยานแห่งชาติเมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวและนันทนาการ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มองว่าการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว เช่น ถนน โรงแรม ฯลฯ เป็นสิ่งที่ไม่ควรได้รับอนุญาตในอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวพร้อมที่จะจ่ายแพงสำหรับไกด์เดินป่าเพื่อชมสัตว์ป่าในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ราคากลางที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยแนะนำตามลำดับ ได้แก่ 371 และ 321 บาท สำหรับการเที่ยวชมช้าง 280 และ 300 บาทสำหรับการเที่ยวชมชะนี และ 287 และ 260 บาทเพื่อเที่ยวชมดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย (กระโถนพระฤๅษี) ดอยสุเทพและดอยอินทนนท์นับว่าเป็นอุทยานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนือ กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติ คือ การเดินไปบนเส้นทางธรรมชาติและเยี่ยมชมน้ำตก การท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ไม่ได้รับความนิยมมากนัก มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มาเยี่ยมชมดอยสุเทพและดอยอินทนนท์พึงพอใจกับที่พัก การเดินทาง และเส้นทางเดินที่มีอยู่ แต่ส่วนใหญ่บ่นว่าขาดข้อมูลและสิ่งอำนวยความสะดวกในการชมสัตว์ป่า ผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่ของทั้งสองอุทยานคิดว่า ทรัพยากรทางธรรมชาติในอุทยานถูกทำลายจากการตัดไม้ทำลายป่า มลพิษ และการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว จึงไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาถนนหรือโรงแรมขนาดใหญ่ในอุทยานแห่งชาติ การพัฒนาการท่องเที่ยวควรมุ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลและสิ่งอำนวยความสะดวกในการชมสัตว์ป่าที่ดีขึ้น (ไกด์เดินป่า บังไพร ฯลฯ) ผลการสำรวจยังจัดลำดับการให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูป่าและการกำจัดขยะอีกด้วย

Related Advice

มุมมองด้านสังคมและเศรษฐกิจในการฟื้นฟูป่า

การฟื้นฟูป่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการสนับสนุนจากชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรียนรู้มุมมองทางด้านสังคมกับการฟื้นฟูป่า