ห้องสมุด

การล่าเมล็ดและต้นกล้าของพรรณไม้โครงสร้าง 5 ชนิด ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ของบ้านหนองหอย อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Date
Nov 2017
Authors
Naruangsri, K.
Publisher
Graduate School, Chiangmai University
Serial Number
178
Suggested Citation
Naruangsri, N., 2017. Seed and Seedling Predation of Five Framework Tree Species in a Degraded Forest Area of Ban Nong Hoi, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Master thesis, Graduate School, Chiangmai University    
Aom

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด มีข้อจำกัดหนึ่ง คือ การล่าเมล็ดและต้นกล้าโดยศัตรูตามธรรมชาติ ที่มีทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการล่าเมล็ดและต้นกล้าโดยสัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยใช้พรรณไม้ท้องถิ่น 5 ชนิด ได้แก่ หมอนหิน (Hovenia dulcis) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) ฝาละมี (Alangium kurzii) มะกอกห้ารู (Choerospondias axillaris) และเลือดม้า (Horsfieldia glabra) เมล็ดของพืชแต่ละชนิดถูกนำมาหยอดภายใต้ชุดการทดลองที่มีการป้องกันศัตรูตามธรรมชาติ ประกอบด้วย 1) กรงลวด (ป้องกันสัตว์มีกระดูกสันหลัง) 2) การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง (ป้องกันสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง) 3) กรงลวดและการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง (ป้องกันทั้งสัตว์มีและไม่มีกระดูกสันหลัง) 4) กรงเปิด และ 5) ชุดควบคุม (สัตว์ทุกชนิดสามารถเข้าถึงเมล็ดได้) มีการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นการหายไปของเมล็ด การงอกของเมล็ดและการตายของต้นกล้าระหว่างชุดการทดลอง พบว่าการหายไปของเมล็ดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชนิด เปอร์เซ็นการหายไปของเมล็ดสูงที่สุด สำหรับ เลือดม้าซึงเป็นชนิดที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ที่สุดและเมล็ดของพืชชนิดนี้ไม่มีการงอกเลย การหายไปของเมล็ด ของพืชอีก 4 ชนิด คือ หมอนหิน นางพญาเสือโคร่ง ฝาละมี และมะกอกห้ารู มีการหายไปของเมล็ดที่ต่ำและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชนิดของพืช ในขณะที่กรงลวดช่วยลดปริมาณการหายไปของเมล็ดได้ ชี้ให้เห็นว่า สัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นผู้ล่าเมล็ดที่สำคัญในพื้นที่ศึกษานี้ อย่างไรก็ตามการป้องกันศัตรูตามธรรมชาติไม่ได้ช่วยเพิ่มการงอกของเมล็ด ความแตกต่างระหว่างการงอกของเมล็ดพืชแต่ละชนิดเป็นผลมาจากลักษณะของเมล็ดและปัจจัยที่พืชต้องการในการงอก นอกจากนี้การป้องกันศัตรูตามธรรมชาติสามารถป้องการการตายของต้นอ่อนที่ยังไม่มีใบแท้ (cotyledonous-seedling) แต่ไม่สามารถป้องกันการตายของต้นกล้าที่มีใบแท้ (leafy-seedling) ได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตายของต้นกล้า คือ ลักษณะของเมล็ด/ต้นกล้า และการแข่งขันกับหญ้าและวัชพืช นอกจากนี้ได้มีการติดตั้งกล้องดักถ่ายสัตว์ เพื่อสำรวจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและนกที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ล่าเมล็ด/ต้นกล้า มีการใช้กับดักหลุม กับดักกาว และการเก็บตัวอย่างโดยตรง เพื่อเก็บตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สำหรับสัตว์มีกระดูกสันหลัง หนู (Rattus sp.) มีความถี่ของการเข้ามาในพื้นที่มากสุด โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกของการหยอดเมล็ด สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มด (อันดับ Hymenoptera) มีจำนวนมากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มอื่น ทั้งหนูและมดมีการรายงานว่าเป็นผู้ล่าเมล็ดในพื้นที่เสื่อมโทรม จากการศึกษานี้ ชนิดที่เหมาะสำหรับใช้ในการหยอดเมล็ด เรียงลำดับตามความเหมาะสมจากมากไปน้อย คือ นางพญาเสือโคร่ง ฝาละมี และมะกอกห้ารู สำหรับ หมอนหิน ได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนิดที่มีความเหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ดระดับต่ำ นอกจากนี้ เลือดม้า ไม่แนะนำให้นำมาใช้สำหรับการฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ดโดยปราศจากการป้องกันการล่าเมล็ด

Related Advice

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การหยอดเมล็ดง่ายกว่าการปลูกต้นกล้า แต่อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เรียนรู้วิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด