ห้องสมุด

ผลของกิจกรรมต่างๆ ในการฟื้นฟูสภาพป่าต่อความหลากหลายของไม้พื้นล่างและกล้าไม้

Date
2000
Authors
Khopai, O.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
165
Suggested Citation
Khopai, O., 2000. Effects of Forest Restoration Activities on the Species Diversity of Ground Flora and Tree Seedlings. MSc Thesis. The Graduate School, Chiang Mai University.
Effects of Forest Restoration Activities on the Species Diversity of Ground Flora and Tree Seedlings

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่า การปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นและการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยใน การฟื้นฟูสภาพป่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของไม้พื้นล่างและกล้าไม้หรือไม โดยได้ทำการศึกษาในพื้นที่ของป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเคยเป็นป่าดงดิบของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ฟื้นที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ปลงการทดลอง คือ 2แปลงที่มีการปลูก พรรณไม้ห้องถิ่นในปี ค.ศ. 1997 และ 1998 (แปลง 97 และ 98) ซึ่งมีการป้องกันไฟ ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช และอีก 2 แปลง เป็นแปลงควบคุมของแต่ละปี (แปลง c และ C ซึ่งไม่มีกิจกรรมใดๆ นอกจากการป้องกันไฟ ในแปลงที่มี การปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นมีวิธีการปลูกเหมือนกัน คือ ไม่มีการตัดกล้าไม้ธรรมชาติที่ขึ้นอยู่แล้ว ใช้ไกลฟอเสทเพื่อจัด เตรียมพื้นที่ก่อนการปลุกเละมีการกำจัดวัชพืชรอบๆ กล้าไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและกล้าไม้ที่ปลูกโดยใช้มือถอน ใส่ปุ๋ยประมาณ 100 กรัมให้กับกล้าไม้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และกล้าไม้ที่ปลูก หลังจากการปลูกแล้วจะมีการกำจัด วัชพืชโดยใช้มือถอนเดือนละหนึ่งครั้ง ในฤดูฝน และใส่ปุ๋ย100 กรัมทันที ทำการสำรวจกล้าไม้ทีปลูก ไม้พื้นล่วง ต้นไม้ ที่เกิดขึ้นองตามธรรมชาติ (กล้าไม้ ลูกไม้ ต้นไม้) โดยการเดินสำรวจทั่วแปลงและวางแปลงวงกลม รัศมี 2.5 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 24 ของแต่ละแปลง ทั้งหมด ครั้ง คือ ในฤดูแล้ง กลางและปลายฤดูฝน พบว่ามีพรรณไม้ทั้งหมด (ยก เว้นกล้าไม้ที่ปลูก) 136 ชนิด คือ แปลง P98, C98, P97 และ C97 มี 95, 71, 33, และ 41 ชนิด ตามคำคับ ซึ่งแบ่งเป็นจำนวน

          ในปีแรกหลังจากการปลูก แปลง P98 มีจำนวนชนิดและความสม่ำเสมอ (Evenness) ของไม้พื้นล่างมากเมื่อ เปรียบเทียบกับแปลง C98 อาจจะเนื่องมาจากไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปีซึ่งเป็นไม้โดดเด่นได้ถูกกำจัดไป ทำให้ไม้ เนื้ออ่อนที่มีอายุสั้นเกิดขึ้นแทนที่ได้โดยเฉพาะในวงศ์ทานตะวัน อย่างไรก็ตาม หลังจากการปลูกสองปี ในแปลง P97 ความหลากหลายของไม้พื้นต่างลดลง เพราะว่า กล้าไม้ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนเรือนยอดใกล้ชิดกันซึ่งลด โอกาสในการเกิดขึ้นใหม่ของไม้พื้นส่ง ในแปลง C97 มีความหลากหลายของไม้พื้นต่างมากแต่มีความสม่ำเสมอของไม้ พื้นต่างน้อยกว่าแปลง P97 เพราะว่าไฟได้กำจัดชนิดวัชพืชที่โดดเด่นออกไป การกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยช่วยในการเร่งรัด การเกิดขึ้นของกล้าไม้ธรรมชาติและเพิ่มความหนาแน่นของต้นไม้ที่เกิดขึ้นของตามธรรมชาติในแปลง T98 และ P97 แม้ ว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนิดกล้าไม้ที่เกิดขึ้นองตามรรมชาติจะมีจำนวนเท่ากันในแปลงทดลองปี1997 (แปลงปลูก และแปลงควบคุม) และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนชนิดกล้าไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในแปลง 1997 และ แปลง 1998 ส่วนใหญ่ของกล้าไม้ที่นำมาปลูกมีสุขภาพดีและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ชนิดพรรณไม้ที่นำมา ปลูกความเหมาะสมที่จะใช้ปลูกในการฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่แห่งนี้ ยกเว้น คางคาก (Nyssa javanica) ละ มะดะ (Garcinia mckeaniana)

Related Advice

ไฟป่า

ในช่วงฤดูแล้ง ไฟป่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโครงการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างมาก เรียนรู้วิธีการป้องกันและการจัดการเมื่อไฟป่าลุกลามเข้าแปลงฟื้นฟู

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...