ห้องสมุด

การคัดเลือกแม่ไม้ยืนต้นที่ดีเพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูป่าให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดโดยยังคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรม

Date
2002
Authors
Pakkad, G.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
155
Suggested Citation
Pakkad, G., 2002. Selecting Superior Parent Trees for Forest Restoration Programs, Maximizing Performance whilst Maintaining Genetic Diversity. The Graduate School, Chiang Mai University.

บทคัดย่อ: 

การพื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างได้นำมาแก้ปัญหาการทำลายป่าในเขตร้อน โดยการ คัดเลือกปลูกชนิดของต้นไม้ที่ช่วยในการพื้นฟูสภาพป่าตามรรมชาติและการกลับคืนมาของความหลากหลายทางชีวภาพ จากการทดลองปลูกในแปลงทดถอง พบว่าอัตราการเจริญเติบโต อัตราอยู่รอดของนกถ้ำพรรณไม้โครงสร้างที่ปลูกในป่าเสื่อมไทรมในเขตภาคเหนือของประเทศไทยมีความผันแปรมาก เป็นผลสืบเนื่องมาจกความแตกต่างกันของเมล็ดที่ได้มาจากแต่ละต้นแม่ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะพัฒนาหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแม่ไม้ยืนต้นที่ดีที่สุดเพื่อใช้ไน โครงการพื้นฟูป่า

พรรณไม้ยืนต้นที่ทำกรศึกษา 5 ชนิด ได้แก่ มะกอกห้ารู (Spondias axillaris Roxb. - . Anacardiaceae), เลี่ยน (Melia toosendan Sieb. & Zucc. - Meliaceae), ซ้อ(Gmelina arborea Roxb. - Verbenaceae), นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides D. Don - Rosaceae) และ ก่อเดือย (Castanopsis acuminatisstima (Bl.) A. DC. - Fagacea) ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นพรรณไม้โครงสร้างที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูป่าในเขตร้อนชื้น

ผลการศึกษาทั้งในเรือนเพาะชำและในแปลงทดลองแสดงถึงความผันแปรของอัตราเจริญเติบโต อัตราการอยู่รอดของต้นกล้าซึ่งได้มาจากแม่ไม้จำนวนอย่างมากที่สุด 50 ต้น ของพรรณ ไม้ที่ศึกษาทั้ง 5 ชนิด การศึกษาในครั้งนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่าง ขนาดของเมล็ด ลักษณะการ งอก อัตราการเจริญเติบโต อัตราการอยู่รอดทั้งในเรือนเพาะชำและในแปลงปลูก แต่ความสัมพันธ์เหล่านี้ผสมผสานกัน

เมล็ด (pyrene) ของมะกอกห้ารู เลี่ยน ละก่อเดือย มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อต้นแม่ไม้เจริญอยู่ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในซ้อและนางพญาเสือโคร่ง

อัตราการงอกของเลี่ยนและก่อเดือยเพิ่มขึ้นเมื่อเมล็ดมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามอัตราการงอกของซ้อเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดของเมล็ดลดลง ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในมะกอกห้ารูและนางพญาเสือโคร่ง ค่าเฉลี่ยขนาดของเมล็ดที่งอกของเลี่ยนกับก่อเดือยใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยขนาดของเมล็ดที่ไม่งอก ขณะที่ค่าเฉลี่ยขนาดเมล็ดที่งอกของซ้อและนางพญาเสือโคร่งกลับมีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ยของเมล็ดที่ไม่งอก

อัตราการงอกมีความแปรผกผันกับระยะเวลาที่ใช้ในการงอกและค่ากลางของระยะพักตัวของเมล็ด สำหรับทุกชนิดที่ทำการศึกษา

นอกจากนั้นยังพบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของเมล็ดกับขนาดของต้นกล้าในเรือนเพาะชำ และมีความสัมพันธ์ที่ไม่เด่นชัดกับอัตราการเจริญเติบโต ขนาดรอบโคนนกล้าของเลี่ยน นางพญาเสือโคร่ง และ ก่อเดือย มีขนาดเพิ่มขึ้นเมื่อเมล็ดมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในซ้อและมะกอกห้ารู อัตราการอยู่รอดของต้นกล้าในเรือนเพาะชำไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดของเมล็ด

พบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโต อัตราการอยู่รอดของกล้าไม้ในแปลงทดลอง กับขนาดของเมล็ดลักษณะการงอกและอัตราการเจริญของต้นกล้าและอัตราการอยู่รอดในเรือนเพาะชำ แต่ความสัมพันธ์มีความสับสนและ ไม่เด่นชัด

หลักเกณฑ์ 4 ข้อในการคัดเลือกแม่ไม้ยืนต้นที่ดี ได้แก่ (1) อัตราการอยู่รอดของต้นกล้าในแปลงทดลอง ร้อยละ 70 หรือมากกว่า (2) หลังจากปลูกในแปลงทดลอง 1 ฤดูการเจริญเติบ โต ความสูงของต้นกล้าสูง 100 เซนติเมตรหรือมากกว่า (3) อัตราการงอกของเมล็ดร้อยละ 40 หรือมากกว่า (4) อัตราการอยู่รอดของต้นกล้าในเรือนเพาะชำร้อยละ 70 หรือมากกว่า ต้นแม่ที่มีคุณลักษณะเข้าหลักเกณฑ์นี้คือ มะกอกห้ารู 12 ต้น ก่อเดือย 17 ต้น นางพญาเสือโคร่งจำนวนชนิดละ 21 ต้น เลี่ยนและซ้อไม่มีต้นแม่ที่มีคุณลักษณะเข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 4

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของนางพญาเสือโคร่งและก่อเดือยเทคนิค microsatellite marker การศึกษาในครั้งนี้จะทำให้มีความรู้สำหรับการคัดเลือกแม่ไม้ในโครงการพื้นฟูป่าของเราดีขึ้น ประการแรกค่า FST แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของก่อเดือยไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่มประชากร ดังนั้นจึงสามารถจะเก็บเมล็ดได้ในอุทยานแห่ชาติทั้ง 3 แห่ง ในทางตรงกันข้าม ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนางพญาเสือโคร่งมีความแตกต่างกันระหว่างประชากร ซึ่งแสดงว่าเมล็ดควรจะเก็บในแต่ละท้องที่และไม่ควรเคลื่อนย้ายระหว่างประชากร ประการที่สอง ข้อมูลทางด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของทั้ง 2 ชนิด บ่งบอกว่าต้นไม้ทั้งสองชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง เนื่องจากมีอัลลีลที่หายากจำนวนมากและแต่ละ microsatellite อัลลีลที่มีความถี่ต่ำ ดังนั้นการเก็บเมล็ดควรจะเก็บมาจากต้นแม่จำนวนมากเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ตรงกับที่องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้แนะนำไว้ว่าเมล็ดควรจะเก็บจากต้นแม่จำนวน 25-50 ต้นในแต่ละประชากร

นอกเหนือกว่านั้น ผู้วิจัยเชื่อว่าข้อมูลของ microsatellite สามารถที่จะให้ความกระจ่างชัดเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมได้ โดยการคัดเลือกแต่ละแม่ไม่ที่มีความหลากหลายของ microsatellite อัลลีล เพื่อที่จะคัดเลือกความหลากหลายทางพันธุกรรมดังกล่าว จึงกำหนัดแบบแผนทางคณิตศาสตร์ขึ้น 2 โมเดล คือเลือกแม่ไม้แต่ละต้นที่ทราบ genotype แล้ว (โมเดลที่ 1) และคัดเลือกแม่ไม้โดยสุ่มจากประชากรที่ไม่ทราบองค์ประกอบของสารพันธุกรรม (โมเดลที่ 2) ซึ่งได้เสนอวิธีการและข้ออภิปรายปัญหาและในบทที่ 6 และ 7

Related Advice

พันธุศาสตร์

หลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์แบบเครือญาติเพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม