ห้องสมุด

ชุมชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย  

Date
1988
Authors
Ua-Apisitwong, S
Publisher
Chiang Mai University
Serial Number
114
Suggested Citation
Ua-Apisitwong, S., 1988. The Small Mammal Communities of Phu Khieou Wildlife Sanctuary and Doi Suthep-Pui National Park BSc Special Project, Chiang Mai University

 

นักศึกษาปริญญาตรี สมยศ เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ ได้นำเสนอภาพรวมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กทั่วไปที่อาศัยอยู่ในป่าดิบและผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งชนิดที่ชีวัดการฟื้นตัวของชุมชีพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเมื่อทำการฟื้นฟูป่า เจนภพ ไทยยิ่ง นักศึกษาปริญญาตรีอีกคนศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในระยะเริ่มต้นของการฟื้นฟูป่าในแปลงฟื้นฟูช่วงแรกๆ ในแปลงฟื้นฟูของ FORRU

การสํารวจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบของชุมชีพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในป่าไม่ผลัดใบและป่าผลัดใบ โดยเลือกสํารวจใน 2 สถานที่ คือ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ทำในพื้นที่ ตัวอย่าง 4 แห่งคือ บริเวณด้านหลังสวนสัตว์เชียงใหม่ (430 เมตร) ผาลาด (570 เมตร) สวนสน (970 เมตร) และยอดดอยสุเทพ (1,610 เมตร) และที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ทำในพื้นที่ตัวอย่าง 2 แห่งคือ ศาลาพรม (590 เมตร) และ ทุ่งกะมัง (840 เมตร) พื้นที่ตัวอย่างบริเวณด้านหลังสวนสัตว์เชียงใหม่ และผาลาด เป็นป่าผลัดใบ ส่วนพื้นที่ตัวอย่างอื่น เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ แต่ละพื้นที่ถูกกําหนดให้มีขนาดเท่ากับ 90 x 90 เมตร ใช้กับดัก 49 อัน วางห่างกัน 15 เมตร เหยื่อ ที่ใช้ประกอบด้วย กล้วยหอมคลุกกับข้าวเหนียวนึ่ง และถัวลิสงป่น วางกับดักเวลาประมาณ 14.00 - 17.00 น. และตรวจ ในเวลา 9.00 - 12.00 น. ของวันถัดมา สัตว์ที่ถูกจับได้ทำเครื่องหมายโดยวิธีตัดขน แล้วปล่อยกลับที่ตำแหน่งเดิม ผลการสํารวจพบว่า ในป่าไม่ผลัดใบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่ถูกจับได้ประกอบด้วย หนูฟานเหลือง (Rattus surifer) หนูท้องขาว (R. rattus) หนูขนเสี้ยนดอย (R. bukit) หนูหวาย (R. sabanus) หนูฟันขาวใหญ่ (R. bowersi) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และกระแตธรรมดา (Tupaia glis) นอกจากนี้ยังพบเห็น กระเล็น (กระถิก) ขนปลายหูสั้น  (Tamiops mcclen-llandii) กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysonii bocourti) และกระรอกท้องแดง (C. flavimanus) สําหรับป่าผลัดใบ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่ถูกจับ ได้แก่ กระจ้อน (Menetes berdmorei) และหมาหริ่ง (Melogale personata) เมื่อใช้จำนวนตัวของสัตว์ที่จับได้ต่อจำนวนครั้งที่วางกับดักเป็นค่าดัชนีของความหนาแน่นสัมพันธ์ของประชากร พบว่า บนยอดดอยสุเทพ ซึ่งมีจำนวนตัวน้อยที่สุด และเมื่อใช้การประมาณความหนาแน่น ของประชากรโดยวิธีทำเครื่องหมายแล้วปล่อย เป็นค่าของความหนาแน่นที่แท้จริงของหนู 3 ชนิด คือ หนูท้องขาว, หนูขนเสี้ยนดอย และหนูฟานเหลือง ในป่าไม่ผลัดใบ 2 แห่ง พบว่าที่ทุ่งกะมัง หนูขนเสี้ยนดอยมีจำนวนมากที่สุด ในขณะที่ สวนสน หนูท้องขาวมีจำนวนมากที่สุด สำหรับระยะทางที่หนูเดินทางใน 1 คืนพบว่าจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของตัวหนู นอกจากนี้อาณาเขตของหนูทั้ง 3 ชนิดมีการซ้อนทับกัน

 

Rattus surifer - yellow rajah rat
หนูฟานเหลือง (Rattus surifer) - ราชาหนูเหลือง

 

Related Advice

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...