ห้องสมุด

สถานะ นิเวศวิทยา และการอนุรักษ์กระโถนพระฤๅษี (วงศ์กระโถนฤๅษี) ในประเทศไทย

Date
1991
Authors
Elliott, S.
Publisher
Kasetsart University, J. Wildlife in Thailand 2(1): 44-52
Serial Number
95
Suggested Citation
Elliott, S, 1991. The status, ecology and conservation of Sapria himalayana Griff. (Rafflesiaceae) in Thailand. J. Wildlife in Thailand 2(1): 44-52
Sapria himalayana bloom

บทคัดย่อ:  กระโถนพระฤๅษี (วงศ์กระโถนฤๅษี) เป็นพืชกาฝากที่มีดอกสีแดงตระการตา กว้างประมาณ 20 ซม. เติบโตในรากของเถาวัลย์ วัตถุประสงค์ของรายงานการศึกษานี้ คือ เพื่อตัดสินสถานะปัจจุบันและการกระจายของกระโถนพระฤๅษี ในประเทศไทย และศึกษานิเวศวิทยาการสืบพันธุ์เพื่อกำหนดวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์กระโถนพระฤๅษี การอยู่รอดของพืชชนิดนี้ได้รับการยืนยันว่าพบในพื้นที่หนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่และอีกแห่งในแม่ฮ่องสอน และได้รับรายงานล่าสุดว่าพบที่ตากและกาญจนบุรี เถาวัลย์ที่เป็นโฮสต์ คือ Tetrastigma obovatum (Laws) Gagnep (Vitaceae), T. laoticum Gagnep. และ T. cruciatum Craib & Gagnep (Vitaceae) ที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 1,000 - 1300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ พบอัตราเพศตัวผู้ต่อตัวเมีย 2.17 บานหลังช่วงพัฒนาการ 99-122 วัน (ค่าความเชื่อมั่น 99%) ในเดือนกันยายน-เมษายน มากที่สุด (73.4 %) ในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม อาจผสมเกสรโดยอาศัยแมลงวัน ในขณะที่การแพร่กระจายของเมล็ดอาจเกิดได้โดยหนู จากการตรวจสอบดอกตูม 545 ดอก ร้อยละ 40 ตายก่อนที่จะพัฒนาสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เกิดจากการหลุดร่วงของดอก โดยที่อัตราการเสียชีวิตของดอกตัวผู้และตัวเมียเท่ากัน กระโถนพระฤๅษีมีสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ตามเกณฑ์ของ IUCN Red Data Book พื้นที่ที่พืชชนิดนี้เติบโตควรได้รับการคุ้มครองที่ดีกว่านี้ การเก็บหรือการค้าพืชควรเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย และควรความพยายามช่วยในการผสมเกสรของดอกไม้ชนิดนี้แล้วนำเมล็ดกลับสู่โฮสต์ใหม่ในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ในสวนพฤกษศาสตร์อาจไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากระบบนิเวศที่ซับซ้อนของพืชชนิดนี้