ห้องสมุด

ความผันแปรทางพันธุกรรมของนางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides D. Don) พรรณไม้โครงสร้างในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
14 Apr 2004
Authors
Pakkad, G., C. James, F. Torre, S. Elliott & D. Blakesley
Publisher
New Forests 27: 189-200.
Serial Number
63
Suggested Citation
Pakkad, G., C. James, F. Torre, S. Elliott & D. Blakesley, 2004. Genetic variation of Prunus cerasoides D. Don, a framework tree species in northern Thailand. New Forests 27: 189-200.
Greuk

นางพญาเสือโคร่งถือว่าเป็น 'พรรณไม้โครงสร้าง' ที่ดีเยี่ยมสำหรับการฟื้นฟูป่าดิบในพื้นที่ป่าเขตร้อนตามฤดูกาล ในที่นี้เราจะอธิบายระดับความแปรผันของไมโครแซทเทลไลท์ในต้นนางพญาเสือโคร่งภายในและระหว่างอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ในภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ ดอยสุเทพ-ปุย ดอยอินทนนท์ และดอยอ่างขาง โดยใช้ไพรเมอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับลูกพีช เชอร์รี่หวาน และเชอร์รี่เปรี้ยว จากตำแหน่งไมโครแซทเทลไลท์ 5 ตำแหน่งที่ใช้ตรวจ พบอัลลีลทั้งหมด 41 อัลลีล โดยจำนวนเฉลี่ยของอัลลีลต่อตำแหน่งต่อสถานที่ศึกษาอยู่ระหว่าง 2.7 ถึง 8.0 (n = 82) ค่าสัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ (FST)ใน 3 พื้นที่ คือ 0.115 ซึ่งบ่งชี้ว่าในขณะที่ความหลากหลายทางพันธุกรรมส่วนใหญ่อาจมีอยู่ภายในพื้นที่ ซึ่งถือว่ามีความแตกต่างทางพันธุกรรม งานวิจัยนี้สื่อถึงความสำคัญของการเก็บเมล็ดของต้นไม้ชนิดนี้เพื่อการฟื้นฟูป่า

Related Advice

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า

พันธุศาสตร์

หลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์แบบเครือญาติเพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม