ห้องสมุด

การปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
2002
Authors
Pakkad, G., S. Elliott, V. Anusarnsunthorn, C. James & D. Blakesley.
Editors
Koskela, S, S. Appanah, A. P. Anderson & M. D. Markopoulos
Publisher
Management and Utilization of Forest Genetic Resources. FORSPA, Bangkok.
Serial Number
49
Suggested Citation
Pakkad, G., S. Elliott, V. Anusarnsunthorn, C. James & D. Blakesley, 2002. Forest restoration planting in northern Thailand. Pp 143 – 153 in Koskela, S, S. Appanah, A. P. Anderson & M. D. Markopoulos (Eds.), Proceedings of the Southeast Asian Moving Workshop on Conservation, Management and Utilization of Forest Genetic Resources. FORSPA, Bangkok.
Forest restoration planting in northern Thailand

การตัดไม้ทำลายป่าเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศที่กำลังพัฒนา ก่อให้เกิดน้ำท่วม ดินพังทลายและเชื้อโรค (เนื่องจากการสูญเสียสิ่งมีชีวิตที่ช่วยควบคุมประชากรพาหะ) ทำให้แหล่งต้นน้ำเสื่อมโทรม และทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าอาจทำลายประชากรและลดความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากร (Kanowski 1999) ในภาคเหนือของประเทศไทย พื้นที่ขนาดใหญ่ในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้ถูกทำลาย ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน และชุมชนท้องถิ่น ควรต้องมีส่วนร่วมในการปลูกป่าและฟื้นฟูพื้นที่เหล่านี้ ในปี 2493 พื้นที่ป่าของประเทศไทยมีประมาณ 53% (ภูมิพลอดุลยเดช 2529) แต่ปัจจุบันนี้มีพื้นที่เหลืออยู่ 22.8% หรือ 111,010 ตร.กม. (FAO 1997) อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเหล่านี้มีทั้งพื้นที่เพาะปลูกและป่าธรรมชาติพื้นที่โดยประมาณของป่าไม้ธรรมชาติของประเทศไทยมีประมาณ 20% (Leungaramsri & Rajesh 1992) อัตราการสูญเสียป่าไม้สูงที่สุด ในปี 2520 และลดลงสู่ระดับต่ำสุด ในปี 2532 ในช่วงที่มีการห้ามตัดไม้เชิงพาณิชย์ อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าครอบคลุม 14.2% ของประเทศ แต่พื้นที่ขนาดใหญ่ภายในพื้นที่เหล่านี้ถูกทำลายและไม่ได้เชื่อมต่อกัน (Bontawee et al. 1995) การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบในหลายๆด้านต่อพืช เช่น การลดขนาดประชากร การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของต้นที่สืบพันธุ์ ลดความสำเร็จในการสืบพันธุ์ เพิ่มการแยกตัวและลดความหลากหลายทางพันธุกรรม ปรากฏการณ์ผู้ก่อตั้ง (founder effect) การเบี่ยงเบนทางพันธุกรรมและการไหลของยีนที่จำกัด เพิ่มการผสมภายในพันธุกรรมเดียวกัน (inbreeding) การแยกกัน และความแตกต่างทางพันธุกรรม (Bawa 1994; Dayanandan et al. 1999; Rosane et al. 1999) กระบวนการดังกล่าวอาจมีอิทธิพลต่อศักยภาพในการวิวัฒนาการของประชากรและชนิดพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมแบบปรับตัวลดลงจนถึงจุดที่ประชากรไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป (Young et al. 1993)

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

พันธุศาสตร์

หลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์แบบเครือญาติเพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ