ห้องสมุด

ทบทวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ: การปลูกต้นไม้สามารถฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่เสื่อมโทรมได้หรือไม่?

Date
1996
Authors
Elliott, S. & K. Hardwick
Editors
Publisher
The Siam Society: Nat. Hist Bull. Siam Soc. 44(2): 155-159.
Serial Number
45
Suggested Citation
Elliott, S. & K. Hardwick, 1996. Can tree plantations restore degraded tropical forests? Nat. Hist Bull. Siam Soc. 44(2): 155-159.
Natural History Bulletin - front cover

สรุป: ประมาณ 15 ล้านตารางกิโลเมตรของพื้นที่เขตร้อนจัดอยู่ในประเภท "ป่าเสื่อมโทรม" วิธีหนึ่งในการฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมและขจัดความกดดันจากพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ คือ การสร้างพื้นที่ปลูกที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม นักอนุรักษ์หลายคนไม่เห็นด้วยกับการปลูกไม้เขตร้อน โดยอ้างว่าโครงสร้างที่สม่ำเสมอของป่าปลูกจะทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่พืชรุกรานถือเป็นวัชพืชและถูกลดทอน ไม้ต่างถิ่นถือเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสัตว์ป่า เนื่องจากสัตว์ท้องถิ่นที่กินพืชมักกินไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มุมมองดังกล่าวอาจต้องได้รับการแก้ไขอย่างมาก ตามการประชุมวิชาการระดับนานาชาติและการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เร่งการฟื้นตัวของป่าท้องถิ่นบนพื้นที่เขตร้อนที่เสื่อมโทรม” ที่จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา 11-14 มิถุนายน 2539 ซึ่งสำรวจว่า พื้นที่ปลูกป่าเขตร้อนอาจช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและเร่งการฟื้นตัวของระบบนิเวศป่าไม้ธรรมชาติได้อย่างไร ซึ่งจัดโดย วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อประเมินผลจากโครงการวิจัยตลอดช่วงระยะเวลา 18 เดือน ในหัวข้อ "ผลจากการเร่งของการปลูกต้นไม้ต่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ท้องถิ่น: การวิเคราะห์เชิงสำรวจ" (สนับสนุนโดยธนาคารโลก USDA Forest Service, the Center for International Forestry Research และ the Overseas Development Administration of the U. K.) ซึ่งประเมินความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันทั่วเขตร้อน ตั้งแต่การปลูกโดยใช้ต้นยูคาลิปตัสไปจนถึงการปลูกหลากหลายชนิดร่วมกันเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศ

บทความนี้เป็นการทบทวนเอกสารสำคัญบางส่วนและผลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ

คลิกที่นี่เพื่อดูบทความของ Kate Hardwick เรื่อง "การทำความเข้าใจและส่งเสริมกระบวนการการฟื้นตัวตามธรรมชาติในป่าดิบแล้งที่เสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย " ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ในการประชุมเชิงปฎิบัติการนี้ด้วย 

 

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...