คำแนะนำ

การฟื้นฟูป่าอัตโนมัติ

Ready to fly
โดรนสามารถติดตามกระบวนการฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และปราศจากการบกวนทางพื้นที่ ซึ่งคุ้มค่าสำหรับการลงทุนในระยะยาวมากกว่าการสำรวจภาคพื้นดินแบบดั้งเดิม

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาการฟื้นฟูป่าที่อ้างอิงหลักการเชิงวิทยาศาสตร์ถูกนำมาใช้และให้ความสนใจมากขึ้น แต่ปัจจุบันหลักการเดิมที่ล้าสมัยก็ยังคงถูกนำมาใช้อยูู่

โดยทั่วไปโครงการฟื้นฟูป่ามักใช้แรงงานคนจำนวนมาก เพื่อการขนย้ายต้นกล้า อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ด้วยระยะทางที่ห่างไกล ลาดชันและยากต่อการเข้าถึง ใช้มีดพร้าในการกำจัดวัชพืชและขุดหลุมปลูกด้วยจอบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่เคยเกิดขึ้นในยุคหินทั้งนั้น

หนึ่งในปัญหาของการฟื้นฟูป่าคือความลำบากของการเข้าถึงพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ราบติดถนน มักถูกจับจองทำเป็นไร่เกษตรกรรม ดังนั้น พื้นที่สำหรับการฟื้นฟูป่าส่วนใหญ่จึงเป็นที่ห่างไกล มักเป็นที่ลาดชันและสภาพดินเสื่อมโทรม การขนย้ายต้นกล้า อุปกรณ์และเครื่องมือเข้าไปในแปลงฟื้นฟู และการกลับเข้าไปเพื่อทำการการตัดหญ้า ใส่ปุ๋ย และการติดตามการเจริญเติบโตของกล้าไม้ มักมีความลำบากอย่างยิ่ง แรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องมักจะไม่เต็มใจที่จะทำงานที่ยากลำบากเช่นนี้ การฟื้นฟูป่าอัตโนมัติ จึงเป็นวิธีการที่จะเพิ่มความสำเร็จของการฟื้นฟูป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูในพื้นที่ขนาดใหญ่และห่างไกล

เทคโนโลยีความก้าวหน้าล่าสุด
เช่นอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และการถ่ายภาพ
ขณะนี้กำลังทำให้งานฟื้นฟูป่าบางส่วนเป็นไปได้โดยอัตโนมัติเช่น: -

ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีการฟื้นฟูป่าโดยอัตโนมัติ เช่น อากาศยานไร้คนขับและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งทำให้บางส่วนของงานด้านการฟื้นฟูป่าเป็นไปได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่

  • การสำรวจพื้นที่ก่อนการฟื้นฟูและติดตามผลการฟื้นฟูที่เกี่ยวข้องกับพืชพรรณและสัตว์ป่า
  • ระบุตำแหน่งต้นไม้ที่ให้เมล็ดและตำแหน่งที่ควรเก็บเมล็ด
  • การหยอดเมล็ดโดยใช้โดรนเพื่อทดแทนการปลูกต้นไม้
  • การดูแลกล้าไม้หลังปลูกโดยอัตโนมัติ เช่น การตัดหญ้าและใส่ปุ๋ย

ในการสำรวจทางอากาศ เพื่อประเมินสภาพพื้นที่และวางแผนวิธีการฟื้นฟู การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้และการฟื้นคืนของพื้นที่ป่า สามารถทำได้อย่างง่ายดายโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ วิดีโอด้านล่างนี้จะแสดงขั้นตอนการใช้โดรน "ดีเจไอ แฟนท่อม 4" เพื่อสำรวจพื้นที่ฟื้นฟู และขั้นตอนการใช้งานทั่วไป (สามารถดูเป็นตัวอย่างและนำไปปรับใช้กับงานวิจัยของนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจอื่นๆได้ตามต้องการ) เพื่อเก็บข้อมูลโครงการวิจัยต่างๆ

 

โมเดลป่าแบบสามมิติจะถูกสร้างขึ้นโดรนใช้โดรนที่หาได้ตามท้องตลาดและมีกล้องที่แยกสีที่ตามองเห็นได้ (RGB) สามารถวัดความสูงของต้นไม้ในโมเดล ซึ่งจะสามารถนำไปคำนวนหาอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดตามว่าโครงสร้างของป่ามีการเปลี่ยนแปลงของไปอย่างไรเมื่อการฟื้นฟูป่าดำเนินไป

โดรนจะต้องบินที่ระดับความสูงเหนือพื้นผิวผ่านโปรแกรมไลชี่ (Litchi Flight Planner) ในกริด ซึ่งต้องมีการทับซ้อนกัน 80%  ระหว่างภาพถ่ายที่อยู่ติดกัน หลังจากนั้นนำภาพทั้งหมดป้อนลงโปรแแปรม Pix4D เพื่อสร้างโมเดลสามมิติ ทุกพิกเซลในโมเดลจะถูกกำหนดด้วยค่าความสูง การคำนวณความสูงของต้นไม้มาจากความต่างระหว่างจุดสูงสุดของต้นไม้และความสูงของโดรน ณ จุดที่ถ่ายภาพ หักลบกับความสูงของโดรนเหนือพื้นผิว - รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงในสไลด์โชว์ด้านล่างนี้

How to measure trees with a drone

การระบุตำแหน่งพรรณไม้

หนึ่งในวิธีการระบุตำแหน่งพรรณไม้จากภาพถ่ายโดรนและวิเคราะห์ด้วยสายตาผ่านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการสำรวจพรรณไม้มากขึ้น ระบบดังกล่าวก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและคาดว่าการระบุชนิดของต้นไม้ด้วย AI จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

การเก็บเมล็ดโดยใช้โดรนยังไม่สามารถทำได้ เทคโนโลยีที่รวมระบบการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์เข้ากับแขนหุ่นยนต์นั้นถูกนำมาใช้เพื่อเก็บเกี่ยวผลไม้ในพืชสวนแล้ว แต่การเก็บเมล็ดในป่าโดยใช้โดรนยังไม่ถูกนำใช้ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ผสมผสานระหว่างอากาศยานไร้คนขับกับหุ่นยนต์บังคับ

อย่างไรก็ตามการหยอดเมล็ดทางอากาศโดยใช้โดรนเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาสำเร็จและใช้อย่างกว้างขวางในเชิงพาณิชย์ เช่น

Automated Forest Restoration - Proceedings

ในปีพ.ศ. 2558 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดอบรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าอัตโนมัติร่วมกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิเวศวิทยา โครงสร้างเมล็ด การเคลื่อนไหวทางอากาศ และอื่นๆ เพื่อระดมความคิดหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูป่า ภายหลังงานประชุมได้ตีพิมพ์วารสาร 14 ฉบับ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการสำรวจพื้นที่ การเก็บเมล็ด การหยอดเมล็ดทางอากาศ การกำจัดวัชพืช และการติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาบัณฑิตและผู้ที่สนใจในการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีทางด้านนี้ต่อไป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าอัตโนมัติสามารถค้นหาได้จากหนังสือของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า

หรือคลิ๊กที่นี่เพื่อไปยังห้องสมุด

 าระการวิจัย ได้ถูกนำเสนอในงานประชุมระดับนานาชาติ: Reforestation for Biodiversity, Carbon Capture and Livelihoods  ซึ่งเป็นงานประชุมออนไลน์ จัดโดยสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว (UK's Royal Botanic Gardens, Kew) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทีผ่านมา  

1: การใช้ภาพถ่าย RGB จากอากาศยานไร้คนขับเพื่อหาตัวแปรบ่งชี้เชิงปริมาณของความเสื่อมโทรมและการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน  

Publication date16 Mar 2023
Author(s)Lee, K.; Elliott, S.; Tiansawat, P.
PublisherForests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การจำแนกระดับของความเสื่อมโทรมของป่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน...

2: การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าระยะเริ่มต้นในพื้นที่เหมืองเปิด

Publication dateSep 2022
Author(s)Changsalak, P.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การติดตามตรวจสอบการฟื้นฟูป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของเทคนิคการฟื้นฟู แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของค่าจ้างแรงงาน...

3:  Multi-Scenario Simulations of Future Forest Cover Changes Influenced by Socio-Economic Development: A Case Study in the Chiang Mai-Lamphun Basin

Publication date16 Aug 2022
Author(s)Rachata Arunsurat, Prasit Wangpakapattanawong, Alice Sharp, Watit Khokthong
PublisherEnvironmentAsia
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม งานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค Markov-cellular automata และ Multi-layer...

4: การเปรียบเทียบการตรวจจับต้นกล้าและการวัดความสูงโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติ จากซอฟต์แวร์สามชุด: ประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่า

Publication dateMar 2022
Author(s)Changsalak, P. & P. Tiansawat
PublisherEnvironmentAsia Journal, 15, 100-105. DOI 10.14456/ea.2022.26
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ความท้าทายหนึ่งสำหรับการฟื้นฟูป่าคือการเฝ้าติดตามผลลัพธ์จากการฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามการรอดตายของกล้าไม้ แบบจำลอง 3...

5: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่าโดยใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการวางแผนและติดตามการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า: ในส่วนดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า

Publication dateNov 2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherCGIAR Research Program on Forests, Trees and Agroforestry and Rome, Italy: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: โครงการริเริ่มระดับโลก เช่น Bonn Challenge และ New York Declaration on Forests ก่อให้เกิดโครงการฟื้นฟูป่าขนาดใหญ่เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ...

6: ความหลากหลายเพื่อการฟื้นฟู (D4R): เป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์ไม้และแหล่งเมล็ดพันธุ์เพื่อการฟื้นฟูให้ทนทานต่อสภาพอาการของภูมิประเทศป่าเขตร้อน

Publication date19 Oct 2021
Author(s)Fremout, T., Thomas, E., Taedoumg, H., Briers, S., Gutiérrez-Miranda, C.E., Alcázar-Caicedo, C., Lindau, A.; Kpoumie, H.M., Vinceti, B., Kettle, C., Ekué, M., Atkinson, R., Jalonen, R. Gaisberger, H., Elliott, S., Brechbühler, E., Ceccarelli, V., Krishnan
PublisherJournal of Applied Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: 1. ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2564–2573) มีการให้ความสำคัญระดับโลกกับการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมมากขึ้นกว่าที่เคย...

7: การพัฒนาดัชนีความเสื่อมโทรมของป่าเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้โดยใช้ภาพถ่ายอาร์จีบีจากอากาศยานไร้คนขับ

Publication date2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่ามีความสำคัญต่อการวางแผนการฟื้นฟู การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่สร้างดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า (forest-degradation index: FDI) โดยอาศัยข้อมูลจากอากาศยานไร้คนขับ...

8: การหาตำแหน่งและจำแนกชนิดต้นแม่ไม้เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ  

Publication date2021
Author(s)Rai, K. R. & S. Elliott
PublisherPreprint
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การระบุตำแหน่งที่รวดเร็วและแม่นยำของต้นไม้ที่ต้องการภายในป่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ หากจะบรรลุเป้าหมายการฟื้นฟูป่าทั่วโลก เช่น Bonn Challenge (มีการฟื้นฟูป่า 350 ล้านเฮคเตอร์ภายในปี ค.ศ....

9: วาระการวิจัยจังหวัดเชียงใหม่เพื่อก้าวไปสู่การฟื้นฟูป่าเเบบอัตโนมัติ

Publication date2020
Author(s)Multiple
Editors(s)Elliott, S.
PublisherFORRU-CMU
Format
Book Chapter

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดสองประการของการประชุมเชิงปฏิบัติการ: การฟื้นฟูป่าแบบอัตโนมัติ (AFR) : หุ่นยนต์สามารถฟื้นฟูป่าฝนได้หรือไม่? ได้แก่ 1....

10: วิทยาการหุ่นยนต์ทางอากาศ การจัดการป่าไม้และการหว่านเมล็ด

Publication date2020
Author(s)Amorós, L., & J. Ledesma
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ โดรนคอเรีย (Dronecoria) คือ โครงการฟื้นฟูป่าที่ใช้โดรนที่ผ่านการปรับแต่งได้ด้วยตนเอง (DIY) เพื่อแพร่กระจายเมล็ด (“dronechory”) ในลูกบอลดิน...