ห้องสมุด

อิทธิพลของกิจกรรมฟื้นฟูป่าต่อชุมชนของนกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ราบสูงเสื่อมโทรม

Date
1999
Authors
Chantong, W.
Publisher
Biology Department, Chiang Mai Univerity
Serial Number
116
Suggested Citation
Chantong, W., 1999. Effects of Forest Restoration Activities on the Bird Community of a Degraded Upland Watershed. BSc thesis, Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University.  

บทคัดย่อ

การสำรวจหา species richness ของนกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่ราบสูงเสื่อมโทรม ณ บ้านแม่สาใหม่   อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย  โดยเปรียบระหว่างแปลงที่มีการปลูกป่าและแปลงที่เป็นชุดการทดลองควบคุมซึ่งไม่ได้มีการปลูก   แปลงที่ผ่านการปลูกป่าได้ใช้ต้นไม้ชนิดที่เป็น framework จำนวน 29 ชนิด  โดยเริ่มปลูกในเดือนมิถุนายน  ปีพ.ศ. 2541  แปลงที่ไม่ได้มีการปลูกเป็นพื้นที่กสิกรรมร้าง  ผ่านการเปลี่ยนแปลงแทนที่โดยธรรมชาติ  และถูกปกคลุมด้วยวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยว  ทั้งสองแปลงถูกเผาก่อนปลูกและสำรวจในเดือน  ธันวาคม  พ.ศ. 2541  นอกจากนี้ยังทำการสำรวจนกที่กินผลไม้ในป่าไม่ผลัดใบ เพื่อหาชนิดของนกที่ช่วยกระจายเมล็ดมาจากป่า และชนิดที่น่าจะพบในการเปลี่ยนแปลงแทนที่อันดับท้าย   

การสำรวจพบนกจำนวน 16 ชนิดในแปลงปลูกป่า  นกชนิดที่พบบ่อยได้แก่  นกกระจิบหญ้าอกเทา (Prinia Hodgesonii)  และพบนกจำนวน 33 ชนิดในแปลงทดลองควบคุม  นกชนิดบ่อยได้แก่  นกกระจิบหญ้าอกเทา (Prinia Hodgesonii)  และนกปรอดหัวโขน (Pycnonotus  jocosus)  ในเขตป่าไม่ผลัดใบพบชนิดที่บ่อยได้แก่  นกปรอดเหลืองหัวจุก (Pycnonotus melanicterus) ความแตกต่างของชนิดระหว่างแปลงปลูกป่าและแปลงควบคุม โดยใช้   ค่าดัชนีของ Sorensen เท่ากับ 0.56  หรือ  แตกต่างกัน  44% แสดงว่ามีความแตกต่างกันปานกลาง

species richness ที่ต่ำในแปลงปลูกป่าน่าจะเป็นผลจากการกำจัดวัชพืช คาดว่าspecies richness จะเพิ่มเมื่อพืชเติบโตจนออกผลซึ่งจะให้แหล่งอาหารที่หลากหลายแก่นก

Related Advice

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...