ห้องสมุด

ฐานข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลและเมล็ดของไม้ยืนต้นในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

Date
1999
Authors
Pakkad, G., S. Elliott, J.F. Maxwell & V. Anusarnsunthorn
Publisher
The Biodiversity Research and Training Program (BRT)
Serial Number
154
Suggested Citation
Pakkad, G., S. Elliott, J.F. Maxwell & V. Anusarnsunthorn, 1999. Morphological database of fruits and seeds of trees in Doi Suthep-Pui National Park. Pp222-228 in Research Reports on Biodiversity in Thailand. The Biodiversity Research and Training Program (BRT), Bangkok, Thailand.
Greuk

บทนำ: อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในอดีตที่ผ่านมาเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของพรรณไม้และสัตว์จำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนี้จำนวนชนิดและปริมาณของพืชและสัตว์ได้ลดจำนวนลงไปจำนวนมาก โดยเฉพาะสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง, ชะนี และกวาง เป็นต้น จากฐานข้อมูลของหอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์บันทึกไว้ว่ามีพรรณไม้ถึง 2,145 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ถึง 447 ชนิด ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศและเปรียบเสมือนโครงสร้างหลักของป่า ถ้าไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่เหล่านี้ป่าก็ไม่สามารถที่จะคงสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ได้ ดังนั้นต้นไม้ขนาดใหญ่เหล่านี้จึงมีความสำคัญมาก แต่ปัญหาของต้นไม้ขนาดใหญ่เหล่านี้บางชนิดมีปัญหาในการแพร่กระจายพันธุ์ ทั้งนี้เนื่องจากสัตว์ที่ช่วยในการกระจายพันธุ์นั้นได้หมดไปจากป่าบนดอยสุเทพแล้วนั้นเอง

การรวบรวมและศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลและเมล็ดของไม้ยืนต้น และเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลน่าจะเป็นประโยชน์ในการใช้ข้อมูลของผลและเมล็ดบอกให้เราทราบว่า ต้นไม้ยืนต้นชนิดใดบ้างที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้เพื่อจะได้ทำการศึกษาวิธีการอนุรักษ์ต่อไป และข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถที่จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยในขั้นสูงต่อไป และสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของงานวิจัยในครั้งนี้คือ การใช้ฐานข้อมูลช่วยในการบ่งบอกชนิดของพืชในเบื้องต้น เพื่อจะได้นำไปตรวจสอบกับตัวอย่างพืชในหอพรรณไม้ของภาควิชาชีววิทยาได้อย่างรวดเร็วและง่าย

Related Advice

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...