ห้องสมุด

ผลของกิจกรรมการฟื้นฟูป่าต่อความหลากหลายของพืชพื้นล่างและกล้าไม้

Date
2000
Authors
Khopai, O
Publisher
Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Serial Number
131
Suggested Citation
Khopai, O., 2000. Effects of forest restoration activities on the species diversity of ground flora and tree seedlings.
FORRU Publication

การศึกษานี้ดำเนินการเพื่อพิจารณาว่าการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำจัดวัชพืชและการให้ปุ๋ยในการฟื้นฟูป่า ช่วยเพิ่มความหลากหลายของพืชพื้นล่างและต้นกล้า งานวิจัยนี้ดำเนินการในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นป่าดิบ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยแปลงทดลอง 4 แปลง คือ แปลงที่ปลูกด้วยพรรณไม้ท้องถิ่นในปี 2540 และ 2541 (แปลง P97 และ P98) จำนวน 2 แปลง เป็นแปลงที่มีการป้องกันไฟป่า ใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช และแปลงควบคุมของแต่ละปี จำนวน 2 แปลง (แปลง C97 และ C98 ) ซึ่งไม่ได้ปลูกต้นไม้และทำกิจกรรมอื่นใดนอกจากการป้องกันไฟ ในแปลงที่มีการปลูกต้นไม้นั้น ไม่ได้ทำการตัดกล้าไม้ที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติออกไปด้วย มีการใช้ไกลโฟเสตเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อนปลูก และกำจัดวัชพืชรอบๆ ต้นไม้ที่ปลูกและกล้าไม้ตามธรรมชาติโดยใช้เครื่องมือ เมื่อมีการปลูกต้นกล้าใส่ปุ๋ยประมาณ 100 กรัม สำหรับต้นกล้าธรรมชาติและต้นกล้าที่ปลูก หลังจากปลูกแล้วกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือเดือนละครั้งในฤดูฝน ใส่ปุ๋ย (100 กรัม) ทันทีที่มีการตัดหญ้า ทำการสำรวจพืชพรรณต่างๆ รวมทั้งต้นไม้ที่ปลูก พืชพื้นล่าง กล้าไม้ธรรมชาติ (รวมถึงต้นกล้า ไม้หนุ่ม และต้นไม้ใหญ่) โดยใช้การเดินสำรวจและแปลงวงกลม รัศมี 2.5 เมตร ซึ่งครอบคลุม 24% ของแปลงย่อย จำนวน 3 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้ง ช่วงกลางและปลายฤดูฝน จากการสำรวจทั้งหมด พบพืช 136 ชนิด (ยกเว้นต้นไม้ที่ปลูก) ในแปลง P98 จำนวน 95 ชนิด ในแปลง C98 จำนวน 71 ชนิด ในแปลง P97 จำนวน 33 ชนิด และ ในแปลง C97 จำนวน 41 ชนิด จำนวนทั้งหมดของชนิดพรรณไม้พื้นล่างและกล้าไม้ธรรมชาติที่พบในแปลง P98 คือ 75 และ 29 ในแปลง C98 คือ 51 และ 27 ในแปลง P97 คือ 28 และ 5 และในแปลง C97 คือ 37 และ 4 ชนิด พบจำนวนชนิดของต้นไม้ที่ปลูก 30 ชนิด ในแปลง P98 จำนวน 22 ชนิด และ P97 จำนวน 14 ชนิด

หลังจากการปลูกปีแรก ความหลากชนิดและความสม่ำเสมอของพืชพื้นล่างในแปลง P98 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแปลง C98 อาจเป็นผลมาจากการตัดหญ้าช่วยกำจัดไม้ยืนต้นที่โดดเด่น ทำให้แปลง P98 เกิดการรุกรานของไม้ล้มลุกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) สองปีหลังจากปลูกต้นไม้ ความหลากหลายของชนิดพืชพื้นล่างในแปลง P97 ลดลง เนื่องจากเรือนยอดของต้นไม้ที่ปลูกปิดชิดกันและลดโอกาสในการเกิดขึ้นใหม่ของพืชพื้นล่าง ความหลากหลายของพืชพื้นล่างสูงในแปลง C97 ในขณะที่ความสม่ำเสมอนั้นต่ำในแปลง P97 เนื่องจากไฟได้กำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ไป การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ยเร่งการตั้งตัวของกล้าไม้ธรรมชาติและเพิ่มความหนาแน่นของต้นไม้เกิดขึ้นตามธรรมชาติในแปลงปลูก แม้ว่าจำนวนชนิดของกล้าไม้ธรรมชาติที่พบจะเท่ากันในแปลง 2540 และความหลากชนิดของต้นไม้ธรรมชาติไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งในแปลง ปี 2540 และ 2541 ต้นไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดีและเติบโตเร็ว ต้นไม้ที่ปลูกทั้งหมด ยกเว้น คากคาก (Nyssa javanica) และ มะดะ (Garcinia mckeaniana) เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมในการปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าในบริเวณนี้

Related Advice

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...